Healthy Workplace องค์กรแห่งความสุข
Healthy Workplace องค์กรแห่งความสุข คือ สถานที่ทำงานที่พนักงานจะต้องมีสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งทางกายภาพ สังคม ชุมชน มีส่วนร่วมในการป้องกันอันตราย ส่งเสริมความปลอดภัยโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม สร้างวัฒนธรรม แนวคิดปฏิบัติที่ดี เพื่อผลลัพธ์จากจิตใจอย่างกระตือรือร้น มองโลกในแง่ดี พึงพอใจในงานที่กระทำ รวมทั้งประสิทธิภาพ เพื่อให้บริษัทมีการพัฒนาเดินหน้าต่อไป อย่างไร้อุปสรรคขัดข้อง
Healthy Workplace มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
สะอาด
- ตามหลักของ 5 ส. สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย เพื่อปรับปรุงสถานที่ทำงาน จัดแบ่งพื้นที่รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
ปลอดภัย
- พนักงานจะเกิดความมั่นใจ เชื่อมั่น ไม่วิตกกังวลต่ออันตรายในเวลาทำงาน
สิ่งแวดล้อมดี
- พนักงานต้องไม่ได้รับผลกระทบจากมลพิษต่าง ๆ ทั้งด้านเสียง ขยะมูลฝอย สารเคมี หรือการสั่นสะเทือน
มีชีวิตชีวา
- เป็นขวัญกำลังใจ ความประทับใจต่อบุคลากร ด้วยความสมดุล เช่น มีกิจกรรมสันทนาการ ออกกำลังกาย กระตุ้นให้ดูแลสุขภาพจากการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ จะช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร
สมดุลชีวิตคนทํางาน
- ไม่หักโหมงานจนเกินไป มีการพักผ่อน โดยที่ผลงานก็สำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมาย
ประโยชน์ของ Healthy Workplace
ผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการ
- ลดต้นทุนในระยะยาว ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ทำให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมทั้งเพิ่มผลผลิต
- ภาพลักษณ์ที่ดีของสถานที่ทำงาน สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพให้มาร่วมงานกันได้
- ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนทำงานด้วยกัน
- ได้รับความเคารพนับถือจากลูกจ้าง
- สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า และผู้ร่วมลงทุนด้วย
พนักงาน
- มีความสุขที่ได้ทำงานอย่างภาคภูมิใจ
- ผลดีต่อความมั่นคงในอาชีพ
- ไม่ประสบกับผลกระทบต่อสุขภาพหรือจิตใจ จากอันตรายต่าง ๆ
- สวัสดิการที่ดี เนื่องจากลดต้นทุนค่ารักษาพยาบาล
สังคม
- ลดภาระของภาครัฐ สร้างรายได้ในรูปแบบภาษี
- เกิดการจ้างงาน ผู้คนมีรายได้ ลดปัญหาอาชญากรรม
- สร้างความร่วมมือกันระหว่างรัฐ เอกชน และชุมชน
แนวทางการดำเนินงานตามหลัก Healthy Workplace
- กำหนดนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหาร ติดประกาศให้พนักงานทุกรายรับทราบ
- สร้างกฎระเบียบในการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและความปลอดภัย
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน ในการพัฒนาสถานที่ให้น่าอยู่
- ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ให้มีสุขภาพที่ดีและความปลอดภัย รวมทั้งการควบคุมมลพิษ เพื่อลดผลกระทบโดยรอบให้มากที่สุด
- จัดกิจกรรมเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมที่เสียหาย และส่งเสริมสุขภาพ
- ประสานงานกับหน่วยบริการสุขภาพทั้งภายในและนอกองค์กร
ความเป็นมาของ Healthy Workplace
- องค์กรแห่งความสุข เริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 1970 ที่ประเทศแคนาดา ทางด้านสาธารณสุขนั้นให้ความสนใจ สุขภาพของสถานที่ทำงาน จึงสร้างระบบมาเพื่อพัฒนาองค์กร ประกอบด้วยแนวคิดทางแวดล้อม กายภาพ และจิตวิทยาทางสังคม รวมถึงทรัพยากรมนุษย์ และด้านการปฏิบัติรูปแบบการใช้ชีวิต ข้อมูลข่าวสาร การยืดหยุ่นเวลางานซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น
- สำหรับประเทศไทยเริ่มออกกฎบัตรส่งเสริมสุขภาพ เมื่อ พ.ศ. 2548 หลังจากที่องค์การอนามัยโลกได้จัดประชุมการส่งเสริมสุขภาพโลก ครั้งที่ 6 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ริเริ่มนวัตกรรมแนวคิด Healthy Workplace เพื่อให้องค์กรเกิดกลไกที่ดีสุขภาพ รวมทั้งจิตใจ สังคม และปัญญา ยึดหลัก 3 ประการ คือ คนทำงานมีความสุข ที่ทำงานน่าอยู่ ชุมชนสมานฉันท์ หลังจากนั้นก็แพร่เข้าสู่ภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น
สุขภาพไม่แข็งแรง ร่างกายทรุดโทรม ทำให้จิตใจไม่มีความสุขในการทำงาน ประสิทธิภาพของผลงานก็ลดลงไป หากพนักงานมีแต่เรื่องเครียด กังวล แม้กระทั่งความปลอดภัยในองค์กร ย่อมส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้า อาจถึงขั้นเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ การที่ผู้บริหารระดับสูงมีอำนาจและเล็งเห็นถึงปัญหานี้ ช่วยส่งเสริมการตรวจสุขภาพ กิจกรรมนันทนาการจะช่วยให้ลูกจ้างทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมโดยรอบก็จะดีขึ้นอีกด้วย